วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต


องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์ (Hard Ware)
- คอมพิวเตอร์
- ฮับ
- เราท์เตอร์
-บริดจ์
-เกดเวย์
-เน็ต
การทำงานของระบบNet Work และ Internet

โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN)
เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์เป็น LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในอาคารเดียวกัน หรือหน่วยงานเดียวกัน

2.เครือข่ายเมือง( Metropolitan Area Network : MAN)
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงจรที่ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน

3.เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network : WAN)
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LANและ MAN มาเชื่อต่อกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการครอยคลุมไปทั้งประเทศ หรือทั่วโลก เช่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือว่าเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology)
     การจัดระบบการทำงานของเครือข่ายนั้น มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย แนวเป็นการจัดการวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายรวมถึงหลักการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่าย โดยแบ่งโครงสร้างเครือข่ายหลักได้ 4 แบบ
1.เครือข่ายแบบดาว
2.เครือข่ายแบบวงแหวน
3.เครือข่ายแบบบัส
4.เครือข่ายแบบต้นไม้

1.เครือข่ายแบบดาว (Star Network)เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยงโดยนำสถานีต่างๆมาต่อรวกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้โดยการติดต่อผ่านทางวงจรของสายสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
    ลักษณะการทำงานแบบดาว
เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีกลางหรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากสถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบดาว จะเป็น 2ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆโหนดจะส่งข้อมุลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกันเพื่อป้องกันการชนกันของสัญญารข้อมูลเครือข่ายแบบดาวเป็นรูปแบบเครือข่ายหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน


2.เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network)เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเองโดยจะมีการเชื่อมโยงของสัญญาณของทุกสถานีเชื่อมเข้ากันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าจะส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อยๆเป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใดเครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้สถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่า เป็นของตนเองหรือไม่ถ้าใช่ก็รับไว้ถ้าไม่ใช่ก้ส่งต่อไป
      ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบวงแหวน
เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆเข้ากันเป็นวงกลมข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่งวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวกันเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูแวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง)ในแตละโหนดหรือสถานีจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด1ตัวซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเตมข่าวสาวที่จำเป็นต่อการสื่อสารในส่วนหัวของแพคเกจข้อมุลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนดจะมีหน้าที่รับแพ็คเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสานสื่อสารเพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดของตนหรือไม่ถ้าใช่ก้จะคัดลอกข้อมุลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตนแต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอรืของโหนดถัดไป

3.เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอรืและอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิล ในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งหนึ่ง การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมุลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมุลชนกันวิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน ในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัสนี้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิดถูกเชื่อต่อด้วยสายเคเบิลเพีบงเส้นเดียวซึ่งจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็กในองคืการที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
    ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบบัส
อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่าบัส(Bus)
เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนดหนึ่งภายในเครือข่ายจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆไปเรื่อยๆในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตัวเองหรือไม่หากไม่ใช่ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไปแต่หากเลขที่อยู่ปลายทางซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของตนโหนดนั้นจัรับข้อมูลเข้าไป

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอทพิวเตอร์
  ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสารและการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะหมายความรวมถึงการสื่อสารและแบ่งปันการใช้ข้อมุลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานของระบบเครือข่าย
รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งได้ 3 ประเภท
1.ระบบเครือข่ายแบบศูนย์กลาง
2.ระบบเครือข่ายแบบยPeer To Peer
3.ระบบเครือข่ายแบบ Clien / Server

1.ระบบเครือข่ายแบบศูนย์กลาง
 เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผลตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและจะมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบๆใช้การเดินสายเคเบิลเชื่อต่มอกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งานโดยส่งคำสั่งต่างๆมาประมวลผลหรือเครื่องกลางซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง
2.ระบบเครือข่ายแบบ Peer To Peer
แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer To Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย เครื่องอต่ละสถานีมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง Stand Alone คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเอง  เช่นดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล  หน่วยความจำที่เพียงพอ  และมีความสามารถในการประมวลผลได้

3.ระบบเครือข่ายแบบ
ระบบ Client / Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อยหนึ่งเครื่องและมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆจากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์หกลาง แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือเครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Clien Sราคาไม่แพงมากซึ่งอาจใช่เพียงเครื่องไมโครคอมพิวงเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ
     นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องนอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเองอีกด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Cleint/Server เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนเครื่อง Servers สำหรับให้บริการต่างๆ เพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนข้อเสียของระบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะอีกด้วย


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น